เมนู

อรหโต สมฺนาสมฺพุทธสฺส, นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา-
สมฺพุทธสฺส"
ดังนี้ก็ได้.
เข้าถึงโดยวิธีมอบตน เช่นโยคีบุคคลผู้ขวนขวายในกรรมฐานก็ได้.
เข้าถึง โดยวิสัยและโดยกิจ หลายวิธี เช่นด้วยวิธีกำจัด อุปกิเลสด้วย
การถึงสรณคมน์ เหมือนอย่างพระอริยบุคคลทั้งหลาย ก็ได้.
ชี้แจงเรื่องการถึงสรณคมน์ และเรื่องบุคคล ผู้เข้าถึงสรณคมน์ ดัง
กล่าวมานี้.

แสดงสรณคมน์ขาด ไม่ขาด และผล


บัดนี้ จะแสดงสรณคมน์ขาดเป็นต้น ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จะแสดง
สรณคมน์ขาดและไม่ขาดทั้งผล ทั้งสรณะที่ควรถึง ดังต่อไปนี้.
การขาดสรณคมน์ ของบุคคลผู้ถึงสรณคมน์อย่างนี้ มี 2 อย่าง คือ
มีโทษและไม่มีโทษ การขาดสรณคมน์เพราะการตาย ชื่อว่าไม่มีโทษ การขาด
สรณคมน์เพราะหันไปนับถือศาสดาอื่น และประพฤติผิดในพระศาสดานั้น ชื่อ
ว่ามีโทษ. การขาดแม้ทั้ง 2 นั้น ย่อมมีแก่พวกปุถุชนเหล่านั้น สรณะของ
ปุถุชนเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะประพฤติไปด้วยความไม่รู้ ความ
สงสัยและความรู้ผิด และเพราะประพฤติไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น ในพระพุทธคุณ
ทั้งหลาย ส่วนพระอริยบุคคลหามีสรณะที่ขาดไม่ และหามีสรณะเศร้าหมอง
ไม่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ [สัมมาทิฏฐิ] จะพึงนับถือศาสดาอื่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ส่วนพวก
ปุถุชน ยังไม่ถึงการขาดสรณะตราบใด ตราบนั้น ก็ยังชื่อว่าเป็นผู้มีสรณะไม่
ขาด การขาดสรณะของปุถุชนเหล่านั้น ย่อมมีโทษ มีความเศร้าหมองและ
อำนวยผลที่ไม่น่าปรารถนา การขาดสรณะที่ไม่มีโทษ ก็ไม่มีผล เพราะหา
วิบากมิได้. ส่วนการไม่ขาดสรณะว่าโดยผล ก็ย่อมอำนวยผลที่น่าปรารถนา
อย่างเดียว เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ชนเหล่านั้นละกายมนุษย์ไปแล้ว ก็จักไม่เข้าถึงอบาย-
ภูมิ จักทำหมู่เทพให้บริบูรณ์
ดังนี้.
ก็ในข้อนั้น พึงทราบอธิบายแห่งคาถาอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด ถึง
สรณะด้วยการตัดอุปกิเลสได้ขาดด้วยสรณคมน์ ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบาย.
ส่วนชนนอกนั้น จักไม่ไปอบาย ก็ด้วยการถึงสรณะ.
แสดงสรณะขาดไม่ขาดและผลเพียงเท่านี้ก่อน.

แสดงสรณะที่ควรถึง


ในการแสดงสรณะที่ควรถึง ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ในคำนี้ว่า ข้าพเจ้าถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้นั้น จะพึงถึงพระ-
พุทธเจ้าหรือสรณะ แม้ทั้งสองคำ การกล่าวแต่คำเดียว ก็ไร้ประโยชน์ เพราะ
เหตุไร เพราะมีแต่กิริยาคือการถึง ไม่มีสองกรรม. ความจริง นักคิดทาง
อักษรศาสตร์ ไม่ประสงค์กรรม 2 กรรมในข้อนี้ เหมือนในคำว่า อชํ คามํ
เนติ
เป็นต้น ฉะนั้น.
ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า การกล่าวแม้คำทั้งสองมีแค่ประโยชน์อย่างเดียว
เหมือนในคำว่า คจฺฉเตว ปุพฺพํ ทิสํ คจฺฉติ ปจฺฉิมํ ทิสํ นักคิด
อักษรศาสตร์ไม่ประสงค์อย่างนั้นดอก เพราะท่านไม่ประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า
และสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน ความจริงเมื่อประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า
และสรณะเหล่านั้น เป็นตัวเหตะเท่า ๆ กันแล้ว บุคคลแม้มีจิตขุ่นเคือง เข้า
เฝ้าพระพุทธเจ้าก็จะพึงชื่อว่า ถึงพระพุทธเจ้า ถึงสรณะน่ะสิ สรณะนั้นใด
ทำให้ต่างไปว่า พระพุทธเจ้า. ผู้นั้นก็ชื่อว่าถึงสรณะนั้นทั้งนั้น.